article
articleไม้บรรทัด ( Ruler )
ไม้บรรทัด ( Ruler )
ไม้บรรทัดเป็นเครื่องมือวัดความยาวที่สำคัญและพบเห็นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน ถูกนำมาใช้ในการศึกษา การออกแบบ และงานวิศวกรรมต่างๆ เนื่องจากความเรียบง่ายและความแม่นยำในการวัดระยะทาง ทำให้ไม้บรรทัดเป็นเครื่องมือแรกที่ผู้คนเรียนรู้ในการวัดและประเมินขนาดของวัตถุ
ไม้บรรทัด บรรทัดเหล็ก หรือฟุตเหล็ก หรือจะเรียกอะไรก็แล้วแต่ จะมี ขนาดรูปทรงทั่วๆ ไป เหมือนกันแทบจะทุกประเภท และในทุกประเภท จะมี หลายขนาดความยาว เพื่อรองรับความต้องการในการใช้งาน โดยสเกลที่ใช้วัด ระยะนั้น จะมีหน่วยวัดเป็นมาตรฐานสากลที่ทั่วโลกนิยมใช้ 2 แบบด้วยกันคือ ระบบอังกฤษ (นิ้ว) และระบบเมทริกซ์ (เซนติเมตร) เช่นนั้น เราก็มาเริ่มรู้จักกับ ขนาดความยาวของไม้บรรทัด ที่นิยมผลิตขายกันตามท้องตลาดว่ามีขนาดใดบ้าง
15 เซนติเมตร / 6 นิ้ว หรือ 12 ฟุต
20 เซนติเมตร / 8 นิ้ว หรือ 1.2 ฟุต
30 เซนติเมตร / 12 นิ้ว หรือ 1 ฟุต (รวมถึงไม้บรรทัดมาตราส่วน)
60 เซนติเมตร / 24 นิ้ว หรือ 2 ฟุต (รวมถึงไม้บรรทัดมาตราส่วน)
100 เซนติเมตร หรือ 1 เมตร / 36 นิ้ว หรือ 3 ฟุต
100 เซนติเมตร หรือ 1 เมตร / 40 นิ้ว หรือ 3.4 ฟุต
ไม้บรรทัดผลิตจากวัสดุหลากหลายชนิด เช่น
ไม้บรรทัดไม้: เป็นไม้บรรทัดชนิดแรกที่ถูกพัฒนาขึ้น มีความแม่นยำในการวัดค่อนข้างต่ำ เหมาะสำหรับการใช้งานทั่วไป เช่น การวัดความยาวโดยประมาณ หรือการทำเครื่องหมายคร่าวๆ ไม้บรรทัดประเภทนี้ จะนิยม ผลิตในรูปแบบที่มีขนาดความยาวที่ 1 เมตรเท่านั้น จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกที่ว่า “ไม้เมตร” เช่น วัดสายไฟ สายยาง ผ้า เสื่อน้ํามัน เป็นต้น จึงไม่เหมาะกับงานที่ ต้องการความละเอียดสูง และไม่เหมาะสมกับการใช้งานหนักทุกประเภทเนื่องจากวัสดุที่ใช้ผลิตมีความยืดหยุ่นและอาจบิดเบี้ยวได้ง่ายเมื่อสัมผัสกับความชื้นหรืออุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง
ไม้บรรทัดพลาสติกธรรมดา: ผลิตจากพลาสติกทั่วไป มีความแข็งแรงปานกลาง เหมาะสำหรับการใช้งานในสำนักงานหรือโรงเรียนหรืองานเขียนแบบขั้นพื้นฐาน เนื่องจากมีน้ำหนักเบาและราคาถูก อย่างไรก็ตาม ไม่เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความแม่นยำสูง มีความยืดหยุ่นน้อย กรอบแตกง่าย ตัวเลขและขีดสเกลสามารถพิมพ์ ตัวนูนได้ มองเห็นได้ชัดเจนแต่เลื่อนเร็ว อาจเกิดการบิดเบี้ยวได้ง่ายเมื่อสัมผัสกับความร้อนหรือความชื้น
ไม้บรรทัดพลาสติกสังเคราะห์: ผลิตจากพลาสติกสังเคราะห์ที่มีความยืดหยุ่นสูง ทำให้มีความทนทานต่อการงอและการแตกหักมากกว่าไม้บรรทัดพลาสติกทั่วไป ตัวเลขและขีดแบ่งส่วนบนไม้บรรทัดมักถูกพิมพ์เป็นแบบนูน ช่วยให้มองเห็นได้ชัดเจน แม้ว่าจะเลื่อนลื่นน้อยกว่าพลาสติกธรรมดาก็ตาม อย่างไรก็ตาม ไม้บรรทัดชนิดนี้ยังไม่เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความแม่นยำสูง หรือการใช้งานในสภาวะที่รุนแรง เนื่องจากอาจเกิดการบิดเบี้ยวได้ในระยะยาว
ไม้บรรทัดเหล็ก: ผลิตจากแผ่นเหล็กกล้า ซึ่งเป็นโลหะที่มีความแข็งแรงและทนทานสูง ขอบของไม้บรรทัดเหล็กได้รับการขัดจนเรียบ แต่ไม่คมจนเกินไป ทำให้ปลอดภัยในการใช้งาน ตัวเลขและขีดแบ่งส่วนบนไม้บรรทัดมักถูกแกะสลักหรือพิมพ์ลงไปอย่างถาวร ทำให้ไม่เลือนลางง่าย และสามารถมองเห็นได้ชัดเจน ไม้บรรทัดเหล็กเหมาะสำหรับงานที่ต้องการความแข็งแรงทนทาน เช่น การวัดและตัดชิ้นงานเหล็ก เนื่องจากสามารถใช้เป็นตัวกำหนดเส้นตัดได้โดยตรง และทนทานต่อแรงกดขีดจากเครื่องมือตัด อย่างไรก็ตาม ข้อเสียของไม้บรรทัดเหล็กคือมีน้ำหนักมาก และหากไม่ได้รับการเคลือบป้องกันสนิม อาจเกิดสนิมได้เมื่อสัมผัสกับความชื้น
ไม้บรรทัดอลูมิเนียม: ผลิตจากโลหะอลูมิเนียม ซึ่งมีความแข็งแรงปานกลาง และมีน้ำหนักเบา ทำให้เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความคล่องตัว เช่น การวัดและตัดวัสดุแผ่นบาง เช่น แผ่นพลาสติก หรือแผ่นอะคริลิก อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความอ่อนนุ่มของอลูมิเนียมเมื่อเทียบกับเหล็กหรือสแตนเลส ทำให้ไม้บรรทัดอลูมิเนียมอาจไม่เหมาะสำหรับงานที่ต้องรับแรงกระแทกสูง หรือการใช้งานในสภาวะที่รุนแรง นอกจากนี้ บรรทัดและตัวเลขบนไม้บรรทัดอลูมิเนียมอาจเลือนลางได้ง่ายกว่าวัสดุชนิดอื่น หากใช้งานเป็นเวลานาน
ไม้บรรทัดสแตนเลส: ผลิตจากสแตนเลส ซึ่งเป็นโลหะอัลลอยด์ที่มีความแข็งแรง ทนทานต่อการกัดกร่อน และไม่เป็นสนิม เหมาะสำหรับใช้งานในสภาวะแวดล้อมที่เปียกชื้นหรือสัมผัสกับสารเคมีต่างๆ นอกจากนี้ สแตนเลสยังมีความแม่นยำในการวัดสูง ทำให้ไม้บรรทัดสแตนเลสเป็นที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมและงานวิศวกรรม อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคควรระมัดระวังสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ เช่น ไม้บรรทัดที่ทำจากเหล็กชุบโครเมียมเลียนแบบสแตนเลส เนื่องจากอาจมีการลอกของชั้นเคลือบได้ง่าย จึงควรเลือกซื้อสินค้าจากผู้ผลิตที่มีชื่อเสียงและมีการรับประกันคุณภาพ
ประเภทไม้บรรทัด
1.ไม้บรรทัดอัตราส่วนเขียนแบบ (Scale)
สําหรับไม้บรรทัดมาตราส่วนโดยมากมักใช้วัสดุ เช่น พลาสติก และ อลูมิเนียม เนื่องจากการใช้งานส่วน ใหญ่ จะเลื่อนไปลากมาเป็นกระดาษ เขียนแบบเท่านั้น โดยจะมีย่านวัดอยู่ 3 ด้าน และแบ่งแต่ละด้านเป็นสเกลขยาย เท่าตามขนาดแบบ ดังนั้นไม้บรรทัด มาตราส่วน จะมีสเกลเทียบมาตราส่วน อยู่ทั้งหมด 6 ด้าน กล่าวคือ ไม้บรรทัด มาตราส่วนที่ขนาดสเกลได้มาตรฐานจะแสดงแถบสเกลทั้ง 2 ด้านต่อ 1 ย่านวัด แบ่งค่าสเกลแสดงเป็นอัตราส่วน โดย จะต้องมีหน่วยวัดในรูปแบบเมทริกซ์ ทั้งเซนติเมตรและเมตร พร้อมด้วยแถบสี แสดงความแตกต่างของสเกลในทั้ง 2 ด้านอีกด้วย แต่การขยายเท่ามาตราส่วนในการเขียนแบบมีกฎเยอะมาก เช่นนั้น ไม้บรรทัดประเภทนี้จึงมีหลายแบบให้เลือก ใช้งาน ตั้งแต่ 1:1-1:2,500 ซึ่งโดยมากจะนิยมผลิตออกใช้งาน 4 แบบดังนี้
(1:11:125) 1:1, 1:20, 1:25, 1:50, 1:75, 1:125
(1:20 1:125) 1:20, 1:30, 1:50, 1:75, 1:100, 1:125
(1:100 1:500) 1:100, 1:200, 1:250, 1:300, 1:400, 1:500
(1:500 - 1:2,500) 1:500, 1:1,000, 1:1,250, 1:1,500, 1:2,000, 1:2,250
การอ่านหน่วยวัดไม้บรรทัดมาตราส่วนเขียนแบบ
ส่วนวิธีใช้ก็คือ 1:1 หมายถึงเท่าของจริง ประมาณว่า 1 เซนติเมตร ก็คือ 1 เซนติเมตร ทําให้สิ่งที่อยู่ในแบบของ
เรา มีรูปร่างเท่าขนาดวัตถุจริง หรือ หากวัดได้ 10 เมตร ในแบบก็ต้อง 10 เมตร และถ้าเป็น 1:2 แสดงว่า วัตถุขนาดจริงจะใหญ่เป็น 2 เท่าหาก เทียบกับแบบ ยกตัวอย่างเช่น 1:100 ก็หมายถึง 1 ช่องขีด เท่ากับ 1 ใน 100 ของจริง นั่นก็แปลว่า 1 ขีด จะ แทน 100 เท่าในสเกลจริงนั่นเอง เช่นนั้น ความยาว 1 ขีด จะเท่ากับ 10 เซนติเมตร หากบนสเกลปรากฏเป็น 1 เมตร (M) ก็เท่ากับ 1 เมตร อีก ทั้งเรายังสามารถใช้การแทนค่าเพื่อให้งานที่ชิ้นใหญ่ให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น โดยใช้ช่องเซนติเมตรแทนเมตรก็ได้ หรือ ลองพลิกด้านอื่นๆ ของสเกลที่มี อัตราส่วนขยายมากขึ้นบนแบบ เราจะเห็นสัดส่วนที่ขยายเพิ่ม หรือ ลดลงไปได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น
2.ไม้โปรแทร็กเตอร์ (Protractor)
เครื่องมือวัดชนิดนี้ อาจกล่าวได้ว่ามีประโยชน์แบบเอนกประสงค์เลยที เดียว เริ่มตั้งแต่วัดระยะตรง สร้างมุมได้ตั้งแต่ 180-360 องศา สร้างวงกลมได้ทุก ขนาดร่วมกับวงเวียนเขียนแบบ มีระบบหน่วยวัดทั้งแบบอังกฤษและแบบเมทริกซ์ โดยเฉพาะหน่วยวัดแบบอังกฤษนั้น จะมีสเกลแบ่งเป็นช่องๆ ให้เราสามารถนํามา อ้างอิงในการหาขนาดได้อย่างสะดวกง่ายดาย โดยไม้โปรแทร็กเตอร์จะแบ่งออก
ได้หลายประเภทดังนี้
- ไม้โปรแทรกเตอร์แบบสี่เหลี่ยมตรงในองศา 180° เหมาะสําหรับการใช้งานแบบอเนกประสงค์
- ไม้โปรแทรกเตอร์ครึ่งวงกลมในองศา 180° เหมาะสําหรับใช้ทํามุม โดยอ้างอิงองศาของครึ่งวงกลม
- ไม้โปรแทรกเตอร์วงกลมในองศา 360° เหมาะสําหรับใช้ทํามุมโดย อ้างอิงองศาของวงกลม
- ไม้โปรแทร็กเตอร์ใช้นําร่อง “Cras นําร่องพล็อตเตอร์” เหมาะสําหรับ การอ่านแผนที่เดินเรือ และการหาพิกัด
การใช้งานไม้โปรแทร็กเตอร์
สําหรับการใช้งานไม้โปรแทร็กเตอร์นั้น ในส่วนประเภทของวงกลมและครึ่ง วงกลม จะสามารถใช้สร้างมุมในองศาต่างๆ ได้ ตามขนาดของไม้โปรแทรกเตอร์ ซึ่งการใช้งานก็เพียงวางทาบลงบนกระดาษเขียนแบบ จากนั้นก็จุดและขีดสร้างมุม หรือสร้างวง เส้นโค้ง และใช้ร่วมกับวงเวียนเพื่อสร้างวงกลมหรือครึ่งวงกลม
แต่สําหรับไม้โปรแทรกเตอร์แบบอเนกประสงค์ หรือแบบสี่เหลี่ยมตรง จะมีรูปแบบการวัดอยู่หลายรูปแบบ และนิยมนํามาใช้งานกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสามารถหาขนาดและความยาวของวัตถุต่างๆ ได้อย่างคร่าวๆ แบบไม่ ต้องการความละเอียดมากนัก และสามารถกําาหนดอะไรต่อมิอะไรหลายอย่างได้
อย่างรวดเร็ว เช่น
- ความยาวในระบบเมทริกซ์จะอยู่ที่ 14 เซนติเมตร หรือ 140 มิลลิเมตร
- วัดมุมได้ 180 องศา โดยช่องแบ่งสเกลจะปรากฏที่ขอบด้านหนึ่งของไม้ โปรแทร็กเตอร์
- ความยาวในระบบอังกฤษจะอยู่ที่ 5 นิ้ว และมีสเกลแบ่งย่อยเพื่อใช้ อ้างอิงที่ปรากฏอยู่ภายในส่วนกลางของไม้โปรแทร็กเตอร์ทั้ง 2 ด้าน ดังนี้
3. ไม้ฉาก (Set Squares)
ไม้ฉากคืออุปกรณ์ที่ใช้ประกอบกับไม้ที ซึ่งใช้ในการวัดมุม และสร้างฉากให้ ตรงและอยู่ในองศาที่ถูกต้อง โดยทั่วไปไม้ฉากจะมี 2 ชนิด คือ
- ชนิดองศาแน่นอน (Set Square) แบ่งแยกได้อีก 2 แบบ คือประกอบด้วยมุมฉาก มุม 60 องศา และมุม 30 องศา และ ประกอบด้วยมุมฉาก และมุม 45 องศาอีก 2 มุม ทั้งสองแบบนี้รวมกันเป็นหนึ่งชุด ซึ่งมีองศากําหนดแน่นอน
- ชนิดปรับองศาได้ (Adjustable Triangle) เป็นไม้ ฉากที่สามารถปรับจํานวนมากน้อย ขององศาได้ตามต้องการ ซึ่งจะให้มุม ได้ตามขนาดที่ต้องการได้
4. ไม้ที (T-Square)
T-Square ที่นิยมเรียกกันว่า “ไม้ที” เพราะมีรูปทรงเหมือนอักษร T โดย ส่วนหัวของไม้ทํามุมฉากกับตัวไม้บรรทัด ซึ่งมีทั้งชนิดที่ทําด้วยไม้และทําด้วย พลาสติก ไม้ทีที่ใช้กันทั่วไป ความยาวอย่างน้อย 1 เมตร และควรลบมุมขอบด้าน ข้าง เพื่อความสะดวกในการเขียนแบบซึ่งใช้ปากกา เพราะจะช่วยไม่ให้หมึกซึม เลอะกระดาษเขียนแบบ สําหรับหน่วยวัดจะมีทั้งระบบอังกฤษ และระบบเมทริกซ์ โดยจะอยู่คนละขอบของไม้ที่
นอกจากนี้ยังมีไม้ที่อีกประเภทหนึ่ง ที่เหมาะกับการใช้งานร่วมกับโต๊ะ เขียนแบบ นั่นก็คือ สไลด์-ที (Slide-T) เป็นไม้ที่ที่ช่วยประหยัดแรงงานในการ เขียนแบบเพราะการกดหัวไม้ที่เลื่อนขึ้นลง เปลี่ยนเป็นใช้ลูกรอกแทน โดยไม้ที่จะ ถูกตั้งให้อยู่ในระดับขนานกับโต๊ะเขียนแบบ เพียงแต่จับไม้ที่เลื่อนขึ้นลงก็ใช้ได้
การอ่านหน่วยวัดแบบอังกฤษ
ระบบการวัดมีความสำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินชีวิตประจำวันและงานวิชาการ หน่วยวัดที่ใช้กันทั่วไปคือระบบเมตริก ซึ่งมีพื้นฐานมาจากหน่วยเมตร แต่ในบางประเทศและบางสาขาอาชีพ ยังคงใช้ระบบการวัดแบบอังกฤษควบคู่กันไป ซึ่งมีหน่วยพื้นฐานคือฟุตและนิ้ว
ระบบเมตริกมีความเป็นมาตรฐานและสากล ทำให้การแปลงหน่วยและการคำนวณมีความสะดวก เช่น 10 มิลลิเมตร เท่ากับ 1 เซนติเมตร และ 100 เซนติเมตร เท่ากับ 1 เมตร อย่างไรก็ตาม ระบบอังกฤษมีความซับซ้อนกว่า เนื่องจากมีการใช้เศษส่วนในการแบ่งหน่วยย่อย ซึ่งอาจทำให้เกิดความสับสนในการอ่านและการคำนวณบนไม้บรรทัดที่ใช้ระบบอังกฤษ จะมีสเกลที่แบ่งเป็นนิ้ว (”) และฟุต (') โดย 1 ฟุต จะเท่ากับ 12 นิ้ว ส่วนที่เล็กกว่า 1 นิ้ว จะแบ่งเป็นเศษส่วน เช่น 1/2 นิ้ว, 1/4 นิ้ว, 1/8 นิ้ว การอ่านค่าบนไม้บรรทัดชนิดนี้จึงต้องอาศัยความเข้าใจในเรื่องเศษส่วนและการประมาณค่า โดยจะมีหลักในการใช้งานดังนี้
- 1 นิ้วจะแบ่งเป็น 8 ช่อง
- 1 ช่องเท่ากับเศษ 1 ส่วน 8 นิ้ว
-ระยะ A อ่านได้ เศษ 13 ส่วน 16 นิ้ว
-ระยะ B อ่านได้ 1 เศษ 1 ส่วน 16 เท่ากับ 1 นิ้ว ครึ่งหุน
-ระยะ C อ่านได้ 1 เศษ 7 ส่วน 16 เท่ากับ 1 นิ้ว 3 หุนครึ่ง
-ระยะ D อ่านได้ 2 เศษ 5 ส่วน 8 นิ้ว เท่ากับ 2 นิ้ว 5 หุน
-1 นิ้วจะแบ่งเป็น 32 ช่อ
-1 ช่องเท่ากับเศษ 1 ส่วน 32 นิ้ว
-ระยะ A อ่านได้ เศษ 3 ส่วน 32 นิ้ว
-ระยะ B อ่านได้ เศษ 9 ส่วน 32 นิ้ว
-ระยะ C อ่านได้ 1 เศษ 11 ส่วน 32 นิ้ว
-ระยะ D อ่านได้ 2 เศษ 4 ส่วน 32 นิ้ว เท่ากับ 2 เศษ 1 ส่วน 8 นิ้ว/2 นิ้ว 1 หุน
หน่วยวัดระบบอังกฤษยังคงมีความสำคัญอย่างยิ่งในภาคอุตสาหกรรมและวิศวกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานที่เกี่ยวข้องกับขนาดและเส้นผ่าศูนย์กลางของวัตถุ เช่น ท่อ, สกรู, และชิ้นส่วนเครื่องจักรต่างๆ การใช้หน่วยวัดระบบอังกฤษในการระบุขนาดเหล่านี้ช่วยให้สามารถเลือกใช้อุปกรณ์และวัสดุที่เหมาะสมได้อย่างแม่นยำ
นอกจากงานด้านวิศวกรรมแล้ว หน่วยวัดระบบอังกฤษยังถูกนำมาใช้ในงานก่อสร้าง งานซ่อมบำรุง และงานที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ การมีความรู้เกี่ยวกับหน่วยวัดระบบอังกฤษจึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับบุคลากรในสายงานเหล่านี้
ตัวอย่างเช่น ในงานประปา การวัดขนาดของท่อเพื่อหาอุปกรณ์เชื่อมต่อที่เหมาะสมเป็นเรื่องสำคัญ หากท่อมีขนาดไม่ตรงกับอุปกรณ์ที่เลือกมา อาจส่งผลให้เกิดการรั่วซึมหรือเกิดปัญหาในการใช้งานได้
- ท่อ 2 หุน ก็เท่ากับ 1/4 นิ้ว หรือ 2/8 เพราะมีค่าเท่ากัน
- ท่อ 3 หุน ก็เท่ากับ 3/8 นิ้ว
- ท่อ 4 หุน ก็เท่ากับ 1/2 นิ้ว
- ท่อ 5 หุน ก็เท่ากับ 5/8 นิ้ว
- ท่อ 6 หุน ก็เท่ากับ 4/6 นิ้ว
ข้อควรระวังในการใช้งานไม้บรรทัด
ในการใช้งานไม้บรรทัด ควรเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมกับประเภทของงาน และหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องมือที่คม เช่น มีดคัตเตอร์ หรือเหล็กขีด กับไม้บรรทัดที่ทำจากพลาสติกหรืออลูมิเนียม เนื่องจากอาจทำให้ไม้บรรทัดเสียหายได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งขอบของไม้บรรทัด ซึ่งอาจทำให้เกิดความผิดพลาดในการวัดได้
24 October 2024
Viewed 2660 time